ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับงานกลึงและประเภทของดอกเจาะ

งานกลึง(Lathe) เป็นการขึ้นรูปชิ้นงานในลักษณะทรงกระบอก 
โดยชิ้นงานจะถูกจับยึดที่หัวจับของเครื่องกลึงแล้วหมุน หลังจากนั้นเครื่องมือตัด ก็จะเคลื่อนที่เข้าหาชิ้นงานเพื่อตัดเฉือนชิ้นงานให้เป็นรูปร่างต่างๆ ตามที่เราต้องการ

หลักการตัดของงานกลึง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 อย่าง คือ

1.เครื่องจักร (machine)

ในงานกลึงเครื่องจักรที่ใช้ขึ้นรูปชิ้นงานคือ เครื่องกลึง มีทั้งเครื่องกลึงแบบที่ควบคุมที่มือป้อนสเกลแบบ manual และเครื่องกลึง cnc ซึ่งเป็นเครื่องกลึงแบบอัตโนมัติ

2.ชิ้นงาน (workpiece)

ชิ้นงานแทบจะทุกชนิดสามารถนำมาขึ้นรูปด้วยการกลึงได้ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของเครื่องจักรด้วย เช่น ขนาดที่หัวจับของเครื่องกลึงสามารถจับยึดได้ซึ่งรวมถึงความยาวของแกนเครื่องกลึงด้วย และความแข็งของวัสดุแต่ละชนิดการตัดเฉือนนั้นก็จะขึ้นอยู่กับเครื่องมือตัดเป็นหลัก ซึ่งเครื่องมือตัดนั้นต้องมีความแข็งมากกว่าชิ้นงานเท่านั้น

3.เครื่องมือตัด (cutting tool)

เครื่องมือตัดที่ใช้งานกลึงโดยส่วนมากจะเป็นมีดกลึง ซึ่งมีลักษณะรูปทรงที่แตกต่างกันออกไปตามการใช้งาน เช่น มีดกลึงปอก, มีดกลึงคว้าน, มีดกลึงเกลียว, มีดเซาะร่อง, มีดตัดเป็นต้น ซึ่งรายละเอียดในการเลือกใช้งานก็จะแตกต่างกันออกไปลักษณะรูปร่างของชิ้นงานที่จะขึ้นรูปและคำแนะนำในการใช้งานของแต่ละผู้ผลิต

ส่วนเครื่องมือตัดอื่นๆที่ใช้ประกอบในงานกลึงเช่น ดอกสว่าน (drill) จริงๆ แล้ว ในงานเจาะบนเครื่องกลึงนั้นจะถือว่าเป็นงานเจาะก็ได้เพียงแต่ว่าทำการเจาะบนเครื่องกลึง ซึ่งจะเห็นว่าเครื่องกลึงนั้นไม่ได้ทำงานได้เพียงแค่การกลึงงานเท่านั้น

ส่วนประกอบอีกอย่างที่สำคัญคัญนอกเหนือจาก 3 อย่างที่กล่าวมาข้างต้นนนั้นก็คือ เงื่อนไขในการตัด เช่น ความเร็วรอบ, ความเร็วตัด, อัตราป้อน ซึ่งจะมีผลต่อคุณภาพและประสิทธิภาพในการผลิตโดยตรง

ความเร็วรอบ (spindle speed) เป็นอัตราการหมุนของหัวจับชิ้นงานงาน นั่นก็หมายถึง ความเร็วในการหมุนของชิ้นงานขณะทำการตัดนั่นเอง

ความเร็วตัด (cutting speed) ความเร็วตัดมักจะถูกกำหนดโดย spec ของเครื่องมือตัดที่สามารถตัดเฉือนชิ้นงานและสามารถทนแรงเสียดสีและความร้อนที่เกิดขึ้นขณะตัดโดยที่คมตัดยังคงรักษารูปทรงไว้ได้ภายในอายุการใช้งาน (tool life) ที่กำหนดได้

อัตราป้อน (feed rate) เป็นอัตราในการเคลื่อนที่ของเครื่องมือตัดเพื่อตัดเฉือนชิ้นงาน

ทั้งความเร็วรอบ ความเร็วตัดและอัตราป้อนนั้นต้องมีความสัมพันธ์กันให้มากที่สุดและอยู่ภายใต้เงื่อนที่ที่ทำให้เกิดอัตราผลผลิตสูงสุด

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *