1.1 ตัวเรือ
แผ่นเหล็กตัวเรือทั้งเหนือน้ำและใต้น้ำ บันไดและราวบันได ท่าทางต่าง ๆ และเครื่องป้องกันบนดาดฟ้ามักจะเกิดสนิมผุกร่อน หรือบริเวณที่มีการปะผุซ่อมชั่วคราว ทำให้มีผลต่อความแข็งแรงของตัวเรือในการรับน้ำหนัก การทรงตัวของเรือ ตลอดจนความปลอดภัยของคนประจำเรือการบำรุงรักษาตัวเรือให้อยู่ในสภาพดี ให้เรือมีการผุกร่อนน้อยและช้าที่สุด เรือจะมีสภาพที่ปลอดภัยในการออกเดินทางไปในทะเล
1.2 ห้องเครื่อง
ต้องมีการบำรุงรักษาห้องเครื่องที่ดีได้แก่ สภาพวาล์วและกลไกในการปิด-เปิด ใช้การได้ดีตรวจสอบ การรั่วไหลของไอน้ำ น้ำและน้ำมัน ภายในห้องเครื่อง รักษาพื้นห้องเครื่องและพื้นท้องเรือตลอดจนบิลจ์ให้สะอาดไม่เป็นที่สะสมของน้ำมัน อันตรายของการผุกร่อนอย่างมากของแท่นเครื่องหรือสภาพของเข็มขัดยึดท่อที่หลวมหรือหลุดการตรวจสอบสภาพการทำงานของเครื่องจักรว่าดีหรือเสียมีข้อบกพร่องหรือความผิดปกติหรือไม่ เช่น ซีลของปั๊ม เกจวัดความดันหรืออุณหภูมิ วาวล์ระบายความดัน (Relief Valve) ระบบควบคุมเครื่องจักรอัตโนมัติ (Control Device) และระบบป้องกัน (Safety Device) การลงบันทึกสมุดปุ่มห้องเครื่องเกี่ยวกับการเดินเครื่องตามปกติการทดสอบเครื่องจักรเสีย การซ่อมทำหรืออุบัติเหตุอื่น ๆ ให้เรียบร้อย เครื่องจักรสำรองหรือเครื่องฉุกเฉินทำงานปกติ มีการทดลองใช้งานและบำรุงรักษาสม่ำเสมอ เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องถือท้ายสำรองและฉุกเฉิน
1.3 แนวน้ำบรรทุก
สิ่งที่จำเป็นต้องดูแลคือประตูหน้าต่างและช่องทางเปิด-ปิดต่าง ๆ เช่น ช่องระบายอากาศ รูวัดระดับน้ำในระวาง (Sounding) ฝาแมนโฮล ฝาระวางสินค้า เป็นต้น ต้องสามารถผนึกน้ำได้ กล่าวคือเปิด-ปิดได้ มียางผนึกน้ำและตัวล๊อคที่ยังใช้การได้ดีไม่มีรูรั่วให้น้ำเข้า ทั้งนี้เพื่อป้องกันน้ำเข้าเรือทั้งในระวางสินค้า ที่พักอาศัยและห้องเครื่อง ซึ่งจะเป็นอันตรายกับกำลังลอยการทรงตัวของเรือ
1.4 อุปกรณ์ช่วยชีวิต
อุปกรณ์ช่วยชีวิตต้องมีครบถ้วนตามที่ข้อบังคับกำหนดและบำรุงรักษาสม่ำเสมอให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี และคนประจำเรือจะต้องฝึกซ้อมวิธีการใช้ให้เป็นทุกคนโดยเฉพาะที่เพิ่งไปลงเรือ ปัญหาที่พบบ่อย ๆ เช่น มีอุปกรณ์ช่วยชีวิตไม่ครบตามกำหนด อุปกรณ์เสื่อมสภาพหรือขาดการบำรุงรักษา ได้แก่ เสื้อชูชีพเก่ามาก เปื่อยและฉีกขาด เรือช่วยชีวิตทะลุเป็นรู เชือกหรือลวดเก่าแตกหรือขาดอุปกรณ์ประจำเรือ เรือบตไม่อยู่ประจำที่เพราะถูกนำไปใช้งานที่อื่น มีสิ่งกีดขวางเช่นสินค้าบนดาดฟ้าขวางทางเข้าไปหยิบฉวยอุปกรณ์ช่วยชีวิต หรือ ดับไฟในยามฉุกเฉินหรือเรือช่วยชีวิตมีสิ่ง กีดขวางการหย่อนลงน้ำหรือไม่วางให้เข้าที่ และผูกมัดให้เรียบร้อย มีการท่าสีทับจุดที่ต้องเคลื่อนที่ไม่มีการอัดหรือทาจาราบีที่รอก ลวก สลัก แกนหมุน อุปกรณ์ประจำเรือช่วยชีวิตหมดอายุเช่น อาหาร พลุสัญญาณหรือแพชูชีพหมดอายุไฟส่องสว่างบนดาดฟ้า เรือบตใช้การไม่ได้
1.5 ความปลอดภัยจากเพลิงไหม้
อุปกรณ์ดับเพลิง โดยทั่วไปสภาพท่อน้ำดับเพลิงวาวล์และหัวต่อ บนดาดฟ้าและในเรือที่ขาดการบำรุงรักษาจะเป็นสนิมไม่อยู่ในสภาพใช้งาน สายสูบหัวฉีดจะผุรั่ว หรือหายจากตู้ดับเพลิงสภาพของถังดับเพลิงทั้งแบบประจำที่ และเคลื่อนที่ได้ไม่มีการตรวจสอบสภาพและบำรุงรักษาประจำ
ความเสี่ยงต่อเพลิงไหม้ได้แก่ห้องเครื่องที่ไม่รักษาความสะอาด โดยเฉพาะน้ำมันรั่วหยด บิลจ์ที่สกปรกมีน้ำมันสะสม พื้นทางเดินที่มีแต่น้ำมัน ก้นบุหรี่ทิ้งในที่มีเชื้อเพลิง
การรุกลามของไฟ ประตูกันไฟที่เปิดไว้จะต้องสามารถปิดได้ทันทีไม่มีสิ่งใดมากีดขวางหรือผูกรัดไว้ทำให้ไม่สามารถปิดได้ ช่องระบายอากาศและพัดลมระบายอากาศที่มีแผ่นเหล็กกั้นสำหรับปิด-เปิดต้องใช้การได้ พัดลมระบายอากาศต้องปิดทั้งระบบได้ทันทีจากจุดควบคุมปุ่มปิดเปิดฉุกเฉิน
ช่องทางหนีไฟและประตูทางเข้าออกจะต้องไม่ปิดล๊อคจนไม่สามารถเปิดออกเพื่อให้ทุกคนสามารถหนีไฟได้ตามปกติหรือไม่มีสิ่งของไปกีดขวางทางหนีไฟ
1.6 การป้องกันเรือโดนกัน
โคมไฟเรือเดินจะต้องเปิดติดและไม่มีอะไรไปบังการมองเห็นของเรือลำอื่น สัญญาณเสียงเช่น หวูด ระฆัง ฆ้อง และสัญญาณอับจนต้องใช้การได้ เช่น สัญญาณมอร์ส ธงสัญญาณ สัญญาณควันสีส้ม สำหรับการเดินเรือและขอความช่วยเหลือ
1.7 ความปลอดภัยของโครงสร้างเรือ
นอกจากตัวเรือจะต้องแข็งแรงแล้ว ยังมีระบบสูบน้ำท้องเรือ ระบบเตือนภัย (Alarm) ระบบไฟฟ้าฉุกเฉินระบบตัดการระบายอากาศ และระบบตัดน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องจักรในห้องเครื่อง
1.8 วิทยุสื่อสารสำหรับความปลอดภัย
วิทยุสื่อสารที่ใบรับรองสภาพยังไม่หมดอายุและมีการบันทึกใช้และการบำรุงรักษาที่ดี มีนายวิทยุที่มีความรู้ความสามารถและปฏิบัติการรับส่งตลอดจนเฝ้าฟังสัญญาณขอความช่วยเหลือตามกำหนด